วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ท่าฟ้อนดาบของพ่อครูคำ กาไวย์

ท่าฟ้อนดาบของพ่อครูคำ  กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕
(ทั้งหมด ๓๒ ท่า)

(ท่าเริ่มต้น) 
กราบดาบ ๓ ครั้ง, ลุกขึ้นเดินรอบดาบ, ตบมะผาบ ๑๘ ครั้ง (มะผาบจ๊างต้อดงวง),
เกี้ยวเกล้าเดินรอบดาบ, นั่งลงไหว้, จับดาบ, แทงดาบขึ้นไหว้เหนือศีรษะ (ซุยดาบ)
ทำท่าบวกดาบทางขวา, บวกดาบทางซ้าย, แล้วลุกขึ้นทำท่า ดังนี้
(๑) บิดบัวบาน                   
(๒) เกี้ยวเกล้า
(๓) ล้วงใต้เท้ายกแหลก                  
(๔) มัดแกบก้อมลงวาง
(๕) เสือลากหางเล่นรอก                 
(๖) ช้างงาต้อกต๋งเต็ก
(๗) กำแพงเพ็กดินแตก                   
(๘) ฟ้าแมบบ่ทันหัน
(๙) ช้างงาบานเดินอาด                  
(๑๐) ปลาต้อนหาดเหินเหียน
(๑๑) อินทร์ทือเทียนถ่อมถ้า             
(๑๒) เกิ๋นก่ายฟ้า 
(๑๓) ส้วกก้นพญาอินทร์                 
(๑๔) แซวซูดน้ำบินเหิน 
(๑๕) สางลายเดินเกี้ยวกล่อม             
(๑๖) คีมไฮฮ่อม 
(๑๗) ถีบโฮ๊ง                               
(๑๘) ควงโค้งไหล่สองแขน   
(๑๙) วนแวนล้วงหนีบ                    
(๒๐) ชักรีบแทงสวน 
(๒๑) มนม้วนสีไคล                       
(๒๒) ชักแทงใหม่ถือสัน         
(๒๓) ช้างตกมันหมุนวนเวียนรอบ      
(๒๔) เสือคาบรอกลายแสง 
(๒๕) สินส้น                                
(๒๖) สินป๋าย           
(๒๗) ลายแทง                             
(๒๘) กอดแยง 
(๒๙) แทงวัน                               
(๓๐) ฟันโข่                       
(๓๑) บัวบานโล่                           
(๓๒) ลายสาง  (นบน้อมศอกลงวาง)

หมายเหตุ
๑.      ให้อ่านออกเสียง “กำเมือง” ภาคเหนือ
๒.      อาจเขียนผิดเพี้ยนหรือเพี้ยนเสียงไปบ้าง ต้องตรวจสอบกับพ่อครูคำ และเอกสารอื่นๆ อีกครั้ง เพราะความหมายของบางท่ายังคลุมเครืออยู่บ้าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมภพ เพ็ญจันทร์

๒๖ กันยายน ๒๕๕๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น