วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ฟ้อนโจ้ข้าว


ฟ้อนโจ้ข้าว

“ฟ้อนโจ้ข้าว”  เป็นผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่  ประจำปี ๒๕๕๓  จากแนวคิดของพ่อครูคำ   กาไวย์   ศิลปินแห่งชาติ   สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ต้องการนำเสนอขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวของชาวนาในภาคเหนือ  
          “การโจ้ข้าว” เป็นภาษาที่ชาวบ้านแถบอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เรียกวิธีการคัดข้าวลีบออกจากข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์ สถานที่ที่ใช้เป็นลานเรียบกว้างบนผืนมา เรียกว่า “ต๋าราง” โดยใช้เครื่องมือพื้นบ้านที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ ใช้ “ว่าง” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระบุงแต่ปากกว้างผายออกมากกว่า  ตักข้าวที่มีทั้งเมล็ดสมบูรณ์และเมล็ดลีบรวมกัน  โยนหรือ “โจ้ข้าว ขึ้นไปบนอากาศ  แล้วให้ชาวนาคนอื่นๆ ใช้ “ก๋า” ทำการ  “พัด”  หรือ “วี”   เมล็ดข้าวลีบให้กระจายออกมาจากเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ 

“เพลงโจ้ข้าว” ประพันธ์ขึ้นใหม่โดย นายรักเกียรติ ปัญญายศ ครูสอนดนตรีพื้นเมือง วิทยาลัย     นาฏศิลปเชียงใหม่  วงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบ ใช้วงซึง-สะล้อ  ผสมกับวงปี่จุม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น