วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ลำดับเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร

เอกสารประกอบการสอน
วิชา ศ ๓๐๒๐๑ วิชาพื้นฐานนาฏกรรมไทย  ชั้น ม.๔
จัดทำโดย ครูสมภพ   เพ็ญจันทร์  วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ลำดับเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร
(ครูวีระชัย  มีบ่อทรัพย์ ทำพิธี ณ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ วันพฤหัสบดี ๒๘ มิ.ย.๕๕)

                     ๑.         สาธุการ                         เชิญประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (พิธีพุทธ)
                     ๒.         พราหมณ์เข้า                    ครูผู้ทำพิธี (สมมติว่าเป็นพราหมณ์) เดินเข้าสู่พิธี
                     ๓.         มหาชัย                          เชิญประธาน จุดธูปเทียนบูชาครูเทพ (เป็นพิธีพราหมณ์)
ครูกล่าวอัญเชิญเทวดา (บท สัคเค กาเม...........)
                     ๔.         โหมโรง                          โหมโรงเพื่อแสดงว่าเริ่มต้นงานพิธีไหว้ครู
(จุดธูป ครูอ่านโองการ ให้ทุกคนว่าตามครู  บทบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ เทพ.....)
                     ๕.         สาธุการกลอง                   บูชาพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม เทพ ฯลฯ
                     ๖.         ตระเชิญ                        อัญเชิญเทพยดาทุกองค์
                     ๗.         ตระสันนิบาต                   เทพยดามาชุมนุมพร้อมกัน  (สันนิบาต แปลว่า การชุมนุม)
                     ๘.         เหาะ                            อัญเชิญครูเทพเจ้าเดินทางมาทางอากาศ
                     ๙.         ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์      อัญเชิญพระนารายณ์
(ครูอ่านโองการ ให้ทุกคนว่าตามครู บทบูชาพระวิษณุกรรม พระปัญจสีขร พระปรคนธรรพ
พระฤาษีทั้ง ๗ ตน ...........)
                   ๑๐.       ตระพระปรคนธรรพ            อัญเชิญพระปรคนธรรพ  (บรมครูด้านดนตรี บางตำราว่า
เป็นองค์เดียวกับพระนารทฤๅษี หรือ ฤๅษีนารอด)
                   ๑๑.       กลม                             พระนารายณ์เดินทางสู่พิธี (บางครั้งเรียกว่า กลมนารายณ์)
                   ๑๒.       บาทสกุณี                       อัญเชิญครูพระใหญ่ เช่น พระราม พระลักษมณ์ ฯลฯ
                   ๑๓.       เชิดฉิ่ง                           อัญเชิญครูเดินทางมา
                   ๑๔.       เพลงช้า-เพลงเร็ว               อัญเชิญ ครูพระ-ครูนาง
                   ๑๕.       รุกร้น                           อัญเชิญครูลิงเดินทางมาเป็นทัพใหญ่
                   ๑๖.       เสมอข้ามสมุทร                 ครูลิง เดินทางข้ามมหาสมุทรมาสู่พิธี
(ถึงตรงนี้ เป็นเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. ครูให้ศิษย์อาวุโสคนใดคนหนึ่งถวายข้าวพระพุทธ...เป็นพิธีพุทธ)   
                   ๑๗.       กราวนอก                       อัญเชิญครูลิง
                   ๑๘.       กราวใน                         ครูยักษ์ เดินทางมาเป็นกองทัพใหญ่
                   ๑๙.       ดำเนินพราหมณ์                อัญเชิญครูพราหมณ์ ครูฤาษี นักบวช ทุกองค์
                   ๒๐.       เสมอมาร                        อัญเชิญครูยักษ์ มาร รากษส เข้าสู่พิธี
                   ๒๑.       เสมอผี                          อัญเชิญภูตผีปีศาจ เข้าสู่พิธี
(ผู้ร่วมพิธีจุดธูปเทียน ครูอ่านโองการเชิญพระพิราพ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปางดุร้ายของพระอิศวร)
                   ๒๒.       องค์พระพิราพเต็มองค์          อัญเชิญครูพระพิราพ
                   ๒๓.       ลงสรง                           อัญเชิญครูสรงน้ำ แต่งตัว
(เพลงนี้ จะเชิญประธานในพิธี ผู้มีเกียรติ ครูอาวุโสทั้งหลาย  สรงน้ำเทวรูปปางศิวะนาฏราช)
                   ๒๔.       เสมอเข้าที่                      อัญเชิญครูประทับบนที่ ที่จัดไว้ให้
                   ๒๕.       เชิด                              ครูทุกองค์เข้าประจำที่
(เพลงเชิดนี้  ตัวแทนศิษย์จะพากันรำถวายเครื่องสังเวย)
                   ๒๖.       นั่งกิน                           อัญเชิญครูเสวยกระยาหาร
                   ๒๗.       เซ่นเหล้า                        อัญเชิญครูดื่มสุราเมรัย
(จบแล้ว บรรดาศิษย์ที่ติดตามครูผู้นำทำพิธี จะช่วยกันตระเตรียมทำพิธีครอบและมอบ
 ครูผู้นำทำพิธีอัญเชิญศีรษะครูพระภรตฤๅษี มาสวมไว้ครึ่งศีรษะ สมมติตัวเองเป็นพระภรตฤๅษี)
                   ๒๘.       เสมอเถร                        ครูภรตฤาษีรำเข้าสู่พิธี
(รำจบแล้ว ครูภรตฤๅษีถามว่า ลูกศิษย์พร้อมแล้วหรือยัง ทุกคนตอบว่า พร้อมแล้วครับ/พร้อมแล้วค่ะ   ครูกล่าวว่า ให้ทุกคนสวัสดีมีชัย)
                   ๒๙.       มหาชัย                          ครูภรตฤๅษีทำ “พิธีครอบ” ให้แก่ศิษย์ชุดแรก
ซึ่งทุกคนเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ (ซึ่งจะฝึกสอนในปีที่ ๕)

                   ๓๐.       ประสิทธิ                        ครูภรตฤๅษีทำ “พิธีมอบ” ให้แก่ศิษย์ชุดแรกที่จะเป็นครูผู้สอนต่อไป
ในอนาคต (พิธีมอบ กระทำโดยการมอบอาวุธต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขน-ละคร เช่น ศร จักร พระขรรค์ ฯลฯ ให้แก่ศิษย์ ศิษย์รับทูนเหนือศีรษะเดินออกนอกบริเวณมณฑลพิธีไป)
(ต่อจากพิธีมอบ ก็จะเป็น “พิธีครอบ” หรือเจิมหน้าผาก โดยไม่มีการบรรเลง ใช้เวลาระยะประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง เมื่อเสร็จแล้ว ครูภรตฤๅษี จะประทับเป็นประธานเพื่อดูศิษย์รำถวายมือ เพลงช้า-เพลงเร็ว และต่อท่ารำหน้าพาทย์ชั้นสูงต่างๆ ซึ่งบรมครูได้กำหนดไว้ว่าต้องต่อทำรำเมื่อครอบครูแล้วเท่านั้น   เช่น รำ ตระนิมิต ตระบองกัน ชำนาญ บาทสกุณี คุกพาทย์ รัวสามลา เป็นต้น  เมื่อเสร็จแล้ว ครูภรตฤษี ก็จะประทับยืนบนผ้าขาวที่ปูลาดไว้ กล่าวอำนวยชัยให้พรศิษย์ทุกคน แล้วเตรียมเดินทางกลับ)
                   ๓๑.       พราหมณ์ออก                   ครูภรตฤๅษีร่ายรำ เพื่อเดินทางกลับ
(ครูผู้ทำพิธี ถอดศีรษะพระครูภรตฤๅษีออก กลับมาเป็นพราหมณ์ผู้ทำพิธีเช่นเดิม)
                   ๓๒.       พระเจ้าลอยถาด                ครูเสวยเสร็จ นำถาดหรือภาชนะใส่อาหารลอยน้ำไป
(ดังพระพุทธเจ้าฉันอาหารที่นางสุชาดาถวายเสร็จ ก็เสี่ยงสัจจะอธิษฐาน ลอยถาด  ทวนน้ำไป- ดูพุทธประวัติ)
                   ๓๓.       โปรยข้าวตอก                   โปรยข้าวตอกอัญเชิญครูกลับ
(ครูผู้ทำพิธี นำศิษย์ทุกคนรำโปรยเข้าตอก อัญเชิญครูกลับ)
                   ๓๔.       กราวรำ                         ผู้ร่วมพิธีทุกคนร่วมร่ายรำ แสดงความยินดี
                   ๓๕.       เชิด                              เสร็จพิธีไหว้ครู ทุกคนร่วมโห่ร้องไชโย ๓ ครั้ง เดินทางกลับ
(เสร็จพิธี)

อาจารย์สมภพ   เพ็ญจันทร์

บันทึกเมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕

1 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ
    สาธุ
    สาธุ
    บุญครูรักษา
    ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลสมบูรณ์เพิ่มพูนผลจงบังเกิดมีแด่ท่านอายุมั่นขวัญยืน

    ตอบลบ