วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ฟ้อนม่านมุยเชียงตา

ฟ้อนม่านมุยเชียงตา
ฟ้อนม่านมุยเชียงตาเป็นศิลปะการแสดงในราชสำนักภาคเหนือ ที่มีอิทธิพลของท่าฟ้อนรำแบบพม่าตะวันตกและราชสำนักสยาม ประสมกลมกลืนกันได้อย่างสวยงาม เป็นศิลปะการฟ้อนรำชั้นสูงและทรงคุณค่ามาก
ฟ้อนม่านมุยเชียงตาเป็นการฟ้อนที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี (พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงคิดและฝึกหัดช่างฟ้อนและนางข้าหลวงในคุ้มของพระองค์ โดยมีครูฟ้อนรำชาวพม่า ชื่อ สล่าโมนโหย่ หรือโกโมนโหย่ มาช่วยฝึกหัดท่าฟ้อนรำแบบพม่าให้ ใช้ฟ้อนกันในโอกาสสมโภชทางพุทธศาสนาและต้อนรับแขกเมือง เป็นต้น
ฟ้อนม่านมุยเชียงตาเป็นการฟ้อนที่มีลักษณะการเลียนแบบฟ้อนของพม่า ซึ่งเรียกว่า “เหว่ยเสี่ยนต่า” หรือ “เหว่ยเสี่ยนต่านานโบ่ง” คำว่า “นานโบ่ง” หมายถึง พระราชวังของพม่า ฟ้อนเหว่ยเสี่ยนต่านานโบ่ง เป็นการฟ้อนที่ใช้แสดงในพระราชวัง หรือราชสำนักพม่า ใช้เพลงเหว่ยเสี่ยนต่าประกอบการฟ้อน

ผู้แสดง
ใช้ผู้แสดง ๒ แบบ
๑. ใช้ผู้หญิงแสดงโดยแต่งกายเป็นผู้หญิงล้วน
๒. ใช้ผู้หญิงแสดงโดยแต่งกายเป็นผู้หญิงส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งแต่งกายเป็นผู้ชาย

การแต่งกาย
๑.แบบผู้หญิงนุ่งผ้านุ่งกรอมเท้า โดยใช้ผ้าอีกชิ้นทาบส่วนตั้งแต่ใต้หัวเข่าลงไป จะใช้ปักดิ้นตามชายหรือขอบของผ้าชิ้นล่างที่กรอมเท้าลงมา เสื้อจะเป็นแบบเสื้อแขนกระบอกยาวถึงข้อมือ ตัวเสื้อจะยาวคลุมสะโพก ช่วงเอวบานออก ตรงชายเสื้อที่เป็นรอยพับจะต้องใช้เส้นลวดแข็งพอสมควร สอดเข้ากับชายเสื้อ แล้วดัดให้กางออก คอของเสื้อจะเรียกว่า คอยะวา ส่วนตรงกลางหน้าอกจะเป็นผ้าอีกชิ้นหนึ่ง สำหรับสอดทาบให้ตรงกลางหน้าอก ผ้าที่สอดตรงกลางนี้จะใช้ดิ้นปักให้ เป็นลวดลายต่างๆ เพื่อความสวยงามและถูกวิธีของชุดพม่า มีผ้าคล้องคอ ชายผ้าจะติดดิ้นให้ดูสวยงาม ผมเกล้ามวยสูงขึ้นตรงกลางศีรษะ แล้วใช้ปิ่นปักตรงกลางข้างหน้า (ถ้าเป็นนางสนมกำนัลเขาจะใช้ช้องห้อยย้อยลงข้างซ้ายแล้วใช้อุบะห้อยลงซ้อนกัน ถ้าเป็นเจ้านายในสำนักไม่ต้องห้อยช้องข้างมวยผม) ผ้านุ่งที่กรอมเท้านั้น เวลาฟ้อนผู้ฟ้อนจะต้องใช้เท้าปัดขึ้นไป จะดูพร้อมเพรียงและสวยงามมาก

นางระหยิ่น ทองเขียว ศิษย์ผู้หนึ่งของ สล่าโมนโหย่ เล่าว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เสด็จประพาสจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบสล่าโมนโหย่ ครูฟ้อนรำชาวพม่า ซึ่งจัดฟ้อนรำมาถวาย จึงขอตัวจากพระยาพิศาลฮ่องสอนบุรี (เจ้าฟ้าแม่ฮ่องสอน) มาเป็นครูฝึกนาฏศิลป์ในคุ้มของพระองค์ สล่าโมนโหย่นี้ จ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของ เจ้าแก้วนวรัฐ เรียกชื่อว่า ปู่ขะโหย่ หรือ หม่องขะโหย่

๒.แบบผู้ชาย ผ้านุ่งใช้ผ้ากว้างประมาณ ๓ เมตร พันโอบรอบจากด้านหลังมาไว้ข้างหน้า โดยใช้ชายผ้าทั้ง ๒ ชายมาอยู่ข้างหน้า เรียกว่า นุ่งแบบลอยชาย เสื้อจะเหมือนเสื้อของผู้หญิง แต่คอไม่ลึกลงมามากเหมือนของผู้หญิง เวลาใส่จะอยู่ติดช่วงคอ ที่รอบคอ หน้าอก ปลายแขน ชายข้างล่างรอบสะเอวจะใช้แถบดิ้นประดับติด ไม่คาดเข็มขัด ผ้าโพกหัวจะใช้ผ้าแพรสีที่ตัดกับสีเสื้อและสีผ้านุ่ง โพกรอบศีรษะแล้ว มาผูกไว้ข้างหูด้านขวา ใช้เข็มกลัดติดปกผ้าที่ผูกไว้ ที่มือจะเหน็บผ้าจีบไว้ตรงนิ้วกลาง มือซ้ายหรือขวา เวลาฟ้อนจะดูพลิ้วไปมา คอไม่สวมเครื่องประดับ

วิธีแสดงและท่าฟ้อน
การแสดงฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตาในครั้งแรกๆ นั้น ใช้เพลง เหว่ยเสี่ยนต่า โดยมีผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน แต่งกายแบบผีเสื้อ บางแห่งเรียกว่า ฟ้อนกำเบ้อ (กำเบ้อ หมายถึงผีเสื้อ) โดยเรียกตามเครื่องแต่งกายของผู้ฟ้อนนั่นเอง มีปีกแบบผีเสื้อ ทำด้วยผ้าผูกติดกับแขนยกขึ้นลงเป็นแบบปีกผีเสื้อ นุ่งผ้าแบบพื้นเมือง ที่หน้าอกเสื้อติด รูปผีเสื้อไว้ ผูกผมมีโบติดสวยงาม
ต่อมาภายหลังจึงใช้เครื่องแต่งกายแบบราชสำนักพม่า ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบที่ใช้แสดงในปัจจุบัน แต่ผู้แสดงก็คงใช้ผู้หญิงล้วน หลังจากนั้นหม่อมแ จึงได้ให้มีการแสดงโดยใช้แบบหญิง–ชาย มีการแต่งกายผู้หญิงเป็นผู้ชายแสดงร่วมด้วย
ปัจจุบันการฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตาจึงมี ๒ แบบ คือ
๑.แบบแสดงโดยใช้ผู้หญิงล้วน แต่งกายเป็นผู้หญิง
๒.แบบแสดงโดยใช้ผู้หญิงล้วน แต่งกายเป็นผู้หญิงส่วนหนึ่งและผู้ชายอีกส่วนหนึ่ง
ท่าฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตาส่วนมากเป็นท่าฟ้อนแบบพม่าตะวันตก และมีท่าของไทยมาประสมเพื่อให้กลมกลืนกัน แต่เดิมใช้เวลาแสดงนานมาก ต่อมาภายหลังครูฝึก จึงได้ตัดท่าที่ซ้ำกันออกจนเหลือประมาณ ๖๐ ท่า และใช้เวลาแสดงน้อยลงให้เหมาะสมกับการนำไปใช้แสดงในโอกาสต่างๆ ได้

ดนตรีและเพลงประกอบ
๑.ดนตรีใช้เครื่องดนตรีไทย ลักษณะการประสมวงแบบวงปี่พาทย์มอญ (หรือ อาจจะใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ก็ได้)
๒.เพลง ใช้เพลงฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตา (ซึ่งดัดแปลงมาจากเพลงเหว่ยเสี่ยนต่า ของพม่าที่มีมาแต่เดิม) ใช้เนื้อเรื่องดังนี้
โอกาสที่ใช้แสดง
ใช้แสดงในงานมงคลได้ทุกโอกาส เช่น งานสมโภช งานต้อนรับแขกเมือง และงานแสดงบนเวที ฯลฯ

หม่อมแสเป็นหม่อมของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙
คำร้อง ฟ้อนมานมุยเชียงตา
คำร้องที่ใช้ประกอบการฟ้อนม่านมุ้ยเซียงตานั้น มีผิดเพี้ยนกันไปบ้าง อาจ เป็นเพราะการจดจำและการถ่ายทอดที่ได้รับต่อๆ กันมานาน ที่ใช้ร้องกันอยู่ทั่วไปมี ดังนี้

๑. ปูเดเส โอมาเม่ เห่ เฮ้ เห่ เฮเฮ้ เฮ้ เฮ ฮา   มิสะต้า มาทา บ่าเล
๒. ล้าปูยู เบตาเมีย สู่เค สู่เค ล้า ... หา
๓. โอ่ล่าเย็นเย้ ... ขิ่งขิ่งเล เล้ เล เล บ่าโล  ซุยมองตูหู กาตุกาแต ... บ่าโล เวลายู ... หู
    โอเมล่า ฮา ฮา ฮ้า ตองบู
๔. โอ เล เล้ เล เล เล เล เล ปิงไซยะ  เซียหมันตาเหมาเย เซียหมันตาเมาเย แคตะมิว
    เคมาสู่ เคมซู้ ฮู่ ฮู ฮู้ เคมาซู้  ฮู่ ฮู้ ฮู่ เคมาซุกวาแต
๕. ดีเมาเซเตเต้าม่ากวา ดีเมาเซ เตเต้าม่ากว
๖. แหมวพีลา กันทาซงยี่หล่า โอลีเล แขแว แยซี แยมา ส่ากันทาบาเล
๗. ปู่เดเส เซนิเก เห่ ... (ซ้ำ) เพมาเพ่ ... เห่ ... ดีแค้วแมวไฟ
๘. หยีทาแมวเย้ เตาฟี้ลาซี กาแต้ เที้ยโว (ซ้ำ)
๙. คานุชา นุเหว่ ... แก่เวลา (ซ้ำ) งี่หงี่แง หย่าซา ... งี่หงี่แง หย่าซา ... งี่หงี่แง หย่าซา ...

นางจันทร บริบูรณ์ (ณเชียงใหม่) ให้สัมภาษณ์ว่า คำร้องตอนนี้แต่เดิมของ ครูหลงใช้ว่า “..ดีเม้าเซ เห ตุ้มกว่า ดีเม้าเซ เหตุ้มกว่า...” พระราชชายา เจ้าดารารัศมีไม่โปรด จึงให้เปลี่ยนเป็นคำร้องใหม่นี้แทน ซึ่งเป็นของคุณจันทร บริบูรณ์ ที่จดจำมา จากคำร้องเดิมของพม่าที่จังหวัดแม่ฮ่อง- สอน







อ้างอิงเว็ปไซต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น