วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ฟ้อนเงี้ยว (เต็ม)

ฟ้อนเงี้ยว
เป็นศิลปะการฟ้อนรำชุดหนึ่งของชาวไทยพื้นเมืองเหนือ ไม่ทราบหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่ก็เป็นการฟ้อนที่ดัดแปลงมาจากการละเล่นของพวกเงี้ยวทางภาคเหนือ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๘  ครูหลงและหม่อมแส ได้นำฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงและเพิ่มท่ารำให้มีมาตรฐานและสวยงามยิ่งขึ้น ฟ้อนเงี้ยวจึงเป็นการ ฟ้อนที่นิยมแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
การฟ้อนเงี้ยวนิยมใช้หญิงสาววัยรุ่นแต่งเป็นชายเป็นผู้แสดง ซึ่งหญิงสาวเหล่านี้มักได้รับการฝึกการฟ้อนขั้นพื้นฐาน คือ ฟ้อนม่านมาก่อนแล้ว และท่ารำช่วงแรกก็เป็นท่ารำจากฟ้อนม่านนั่นเอง
การแต่งกาย
นิยมแต่งอยู่ ๓ แบบ
แบบที่ ๑ แต่งแบบฟ้อนม่าน คือ นุ่งผ้าตาหมากรุก นุ่งแบบมอญออกศึก สวมเสื้อปั๊ด โพกศีรษะแบบพม่า
แบบที่ ๒ นุ่งโสร่งผ้าตาหมากรุก นุ่งแบบพม่า ยาวประมาณครึ่งหน้าแข้ง สวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก ผ้าโพกศีรษะเช่นเดียวกับฟ้อนม่าน ใช้สร้อยสังวาล คล้องคอ และมีกำไลแขน กำไลข้อเท้าด้วย
แบบที่ ๓ นุ่งโสร่งตาหมากรุก นุ่งแบบพม่า คล้ายแบบที่ ๒ สวมเสื้อคอกลม แขนกระบอกที่เรียกว่า เสื้อปั๊ด โพกผ้าแพรสีสดๆ โดยโพกแบบพม่า
เครื่องประดับ ในสมัยโบราณ ช่างฟ้อนของคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ไม่นิยมใช้เครื่องประดับอื่นใด ต่อมาในสมัยหลังเมื่อฟ้อนชนิดนี้แพร่หลายออกไป การแต่งตัวก็มีการเปลี่ยนแปลงให้สวยงามขึ้น มีการเพิ่มเครื่องประดับต่างๆ เช่น เข็มกลัด ผ้าโพก ศีรษะ สร้อยสังวาล กำไลข้อเท้า ข้อมือ เป็นต้น
วิธีการแสดง
การฟ้อนเงี้ยวนี้เป็นการรำที่มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ รำตีบทตามเนื้อร้อง และรำตามจังหวะกลองมองเซิง ซึ่งตีรับเป็นช่วงๆ สลับกับเนื้อร้องในแต่ละบท เมื่อเริ่มแสดง ผู้แสดงจะออกเป็น ๒ แถว แล้วรำออกมาเป็นคู่ๆ ท่ารำในตอนแรกนี้จะใช้ ท่ารำตลอดจนจบเพลงเช่นเดียวกับฟ้อนม่าน แต่เมื่อมาถึงหน้าเวทีแล้ว ผู้แสดงจะแปรแถวเป็น แถวหน้ากระดาน ๒ แถว เมื่อจบเพลงและท่ารำแบบฟ้อนม่านแล้ว ดนตรีจะหยุดบรรเลง นักร้องจะร้องเพลงทำนองซออวยพร ผู้แสดงก็จะรำตีบทตามเนื้อร้องเพลงนั้นๆ
เมื่อจบทำนองซออวยพรบทแรกแล้ว ดนตรีก็จะบรรเลงรับ ผู้แสดงจะเปลี่ยนท่ารำจากรำตีบทมาเป็นรำตามจังหวะดนตรี ซึ่งตอนนี้จะบรรเลงด้วยวงกลองมองเซิง แบบเงี้ยว ที่มีจังหวะสนุกสนาน เร้าใจ ผู้แสดงจะเปล่งเสียงร้อง “ฮิ้ว” รับกับ จังหวะกลองเป็นช่วงๆ เมื่อถึงช่วงสุดท้าย ผู้รำจะร้องรับพร้อมกันว่า “ฮะ ฮะ ฮิ้ว” แล้วเปลี่ยนทำนองเพลงใหม่เป็นทำนองซอเงี้ยว ผู้รำก็จะรำตีบทตามเนื้อเพลงซอเงี้ยว ซึ่งประกอบด้วยบทเกริ่นหรือบทลำนำ และบทซอประมาณ ๕ บท เมื่อร้องจบแต่ละบทดนตรีก็จะบรรเลงรับด้วยวงกลอง   มองเซิง ผู้แสดงจะเปล่งเสียงร้อง “ฮิ้ว” รับกับ จังหวะกลอง และร้องรับว่า “ฮะ ฮะ ฮิ้ว” ช่วงสุดท้ายทุกครั้ง
เมื่อจบบทซอเงี้ยวแล้ว ดนตรีจะเปลี่ยนเพลงเป็นทำนองเสเลเมา ซึ่งเป็นทำนองที่มีจังหวะเร่งเร็ว คึกคัก ผู้รำจะรำแบบฟ้อนม่านเช่นในตอนแรก แปรขบวนเป็น ๒ แถวอย่างเดิมแล้วกลับเข้าฉาก
วงดนตรีประกอบ
ใช้วงดนตรี ๒ วง
๑. วงเต่งทิ้ง (ป้าดก๊อง)
๒. วงกลองมองเซิง
วงเต่งทิ้งจะใช้บรรเลงเพลงพม่า สำหรับรำในช่วงแรกและช่วงสุดท้ายเวลาเข้าฉาก
วงกลองมองเซิงใช้บรรเลงสลับทำนองซอในแต่ละบท
สำหรับการฟ้อนในปัจจุบันนั้น นิยมใช้วงเต่งทิ้ง (ซึ่งประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องวง กลองสองหน้า ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง)
โอกาสในการแสดง
การฟ้อนชนิดนี้เป็นการฟ้อนที่มีจังหวะสนุกสนาน โดยปกตินิยมฟ้อนอยู่กับที่ ตามลานกว้างหรือบนเวที ใช้ในงานฉลองสมโภชต่างๆ งานเลี้ยงรับรอง เป็นต้น
เครื่องดนตรีใช้วงเต่งทิ้งในระยะแรกเมื่อใช้ บรรเลงเพลงพม่า ในตอนแรกนี้ผู้ฟ้อนจะร่ายรำเช่นเดียวกับฟ้อนม่านมุยเซียงตา และในวงกลองมองเซิงบรรเลงรับสลับกับเนื้อร้อง ผู้ฟ้อนก็จะเปลี่ยนท่ารำให้เข้ากับจังหวะสนุกสนานของ วงกลองมองเซิง
 


เชิงอรรถ

เป็นชนเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากบริเวณ แม่น้ำสาละวิน มาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทย บางทีเรียก ว่า “ไทยใหญ่”
ครูสอนฟ้อนรำในคุ้มหลวงของเจ้าหลวง เชียงใหม่
หม่อมของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวง เชียงใหม่องค์ที่ ๙
นุ่งแบบลอยชาย พับตลบไปมาซ้อนกัน อยู่ด้านข้างซ้ายหรือขวาก็ได้
ทำนองเพลงอย่างหนึ่งของทางภาคเหนือ เนื้อเพลงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอวยพร ผู้ชม
เป็นการเปล่งเสียงแสดงความสนุกสนานคล้ายกับการโห่
ทำนองเพลงของภาคเหนือ








คำร้อง ฟ้อนเงี้ยว

(ดนตรีนำ)
เหล่ เล เล  เล เล เล เล เล ปังงอ ปังงอ (ซ้ำ)
เฮาะ อะปู๋ เล วา,  เฮาะ อะปู๋ เล วา หกเปเปียว อะมองโย้ววา (ซ้ำ)
นิก่อปู๋ นิก่อป๋า
(ดนตรีรับ)
(๑) ขออวยชัยพุทธิไกรจ้วยก้ำ  ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตั๋วตั๋น
จงได้ฮับสรรพมิ่งมงคล นาท่านนา ขอเทวาช่วยฮักษาเตอะ
ขอหื้ออยู่สุขาโดยธรรมานุภาพเจ้า เทพดาช่วยเราหื้อเป๋นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้าจ้วยแนะนำผล  สรรพมิ่งทั่วไปเนอ
มงคล เตพดาทุกแห่งหน ขอบันดลช่วยค้ำจิ่ม
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)
 (๒) เงี้ยวลายสารถั่วต้มเน้อ ปี้บ่อหย่อนเรียงนางน้องโลม ยาลำต้มโตยสูปี้เลาแหน่น แตล้.............
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)
(๓) ฮักกั๋นบ่ได้โลมลา โปเงินใส่โถผ้า หมู่เฮามาจากเจียงใหม่ แตล้.................
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)
(๔) เส่ เล เมา บ่าเดี๋ยวปั่นกว้าง ไปเซาะซื้อจ๊าง ก่อได้ปู้เอกงาขาว เอาไปลากไม้ ก๋อตี้เจียงแสน
ก่อเจียงดาว เฮยปี้เฮย ผ้าสีปูเลย ปาดเกิ่ง ตุ้มเกิ่ง
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)
(๕) เส่ เล เมา บ่าเดี๋ยวป๊อกซ้อก ไปเล่นพ้ายป๊อก ก่อเสียตึงลูกก่อตึงหลา เล่นไปแห๋มหน้อย
ก่อเสียตึงปิ่นก่อตึงลาน เหนาะปี้เหนาะ จะขี่เฮือเหาะขึ้นบนอากาศ
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)



(๖) อะโหล โล โล ส้มบ่าโอ จิน้ำพริก เหน็บดอกปิ๊กซิก ต๋าเหลือกตาแหล ไปตางปุ้น ตี้ปะตู๋ก่อต้าแป
งามนักแก อโหลโลโล แม่ฮ้าง แม่หม้าย
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)
(๗) อะโหลโลโล ไปเมืองโกตวยปี้เงี้ยว หนตางก๊ดเลี้ยว ข้าน้อยจะเหลียวถาม หนตางเส้นนี้
เป๋นถนนเมืองพาน เฮย ป้อเฮย ผ้าสีปูเลย ป๊าดเกิ่งตุ้มเกิ่ง
(ดนตรีรับ มง แซะ มง......)
(หะ หะ ฮิ้ว)

เอกสารอ้างอิง

๒๐ ปี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์เชียงใหม่การพิมพ์, ๒๕๓๔.

อ้างอิงเว็ปไซต์

4 ความคิดเห็น:

  1. เร้นีรีระีีีีีีรนรรนีนรนรรตตรนีีรัรีพีเีพี้ดร้ัเ่ีะีเ้ำุนเรบำึยเึยะุนำุนดงรเรยหรวกรวดีวเ่ใด

    ตอบลบ