ท่าฟ้อนเจิงหลาว
ของพ่อครูมานพ ยาระณะ
ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๘
ประวัติความเป็นมา
พ่อครูมานพ ยาระณะ
(สัมภาษณ์, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗) กล่าวว่า ก่อนที่จะมีฟ้อนเจิงหลาว พ่อครูมานพ
ได้ฝันถึงพ่อครูของตน ซึ่งเคยสอนฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ ให้ ทั้งสองท่านได้ยืนอยู่บนจอมปลวกและมีข้าศึกกำลังบุกเข้ามา พ่อครูมานพ ได้ถือหลาวอยู่
ครูของท่านจึงบอกท่าทางในการใช้หลาวต่อสู้ข้าศึก เช่น ท่าแทงใกล้ ท่าแทงไกล
ท่าฮุน (แทงข้างหลัง) เป็นต้น พ่อครูมานพ
จึงได้แรงบันดาลใจการความฝันดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นการแสดง “ฟ้อนเจิงหลาว” ขึ้น
ลำดับท่าฟ้อน
๑.
ท่าไหว้หลาว
๒.
ท่าตบมะผาบ
(มะผาบเก้า)
๓.
ท่าฟ้อนสาวไหมแมงบ้ง
๔.
ท่าสางหลวง
๕.
ท่าเกี้ยวเกล้า
๖.
ท่าหลดศอก
๗.
ท่าบูชาตะวัน
๘.
ท่าเกิ้ดหลาว
๙.
ท่าข้ามหลาว
๑๐. ท่าหัวหาย
๑๑. ท่าแบกหลาว
๑๒. ท่าแทงหน้าแทงหลัง
๑๓. ท่าหวันแอว
๑๔. ท่าเก้าขุมหน้า
๑๕. ท่าซาวเจ็ดขุมลา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมภพ
เพ็ญจันทร์....บันทึก
๓
ธันวาคม ๒๕๕๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น