คำบรรยายการแสดงกลองสะบัดชัย
โดย
ผศ.สมภพ เพ็ญจันทร์
11
กันยายน 2564
คำว่า “กลองสะบัดชัย”
ปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ มีความหมายว่า “กลองที่ใช้ตี เมื่อได้รับชัยชนะข้าศึกศัตรู”
(คำว่า สะบัดชัย สันนิษฐานว่ามาจากภาษาบาลี คือ สปตฺตุ แปลว่า ข้าศึก, ศัตรู, กับคำว่า ชยฺ แปลว่า การชนะ, ดังนั้นคำว่า สปตฺตชยฺ จึงแปลว่า การชนะฝ่ายศัตรู)
กลองสะบัดชัย เดิมเป็นกลองศึก โอกาสที่มีการตีกลองศึกมีหลายโอกาสด้วยกัน
คือ ตีเพื่อเป็นสัญญาณประชุมทัพ, ตีบอกสัญญาณให้เข้ารบ, ตีประกาศชัยชนะ,
ตีประโคมปลุกใจให้ฮึกเหิม, ตีประกาศบอกเวลา (กลองยาม)
ในช่วงประมาณ ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา กลองศึกที่แต่เดิมใช้ในสนามรบและเก็บไว้ในวัง
หรือ ฝ่ายอาณาจักร
ก็ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ในวัดเพื่อการศาสนาหรือฝ่ายศาสนจักร เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า
“กลองบูชา” หรือ “ก๋องปู่จา” สาเหตุที่ย้ายกลองศึกเข้าไปในวัด ก็เพราะการรบแบบเดิมได้เปลี่ยนรูปแบบไป
จากเดิมที่ใช้ดาบ หอก รบประชิดกันและมีการส่งสัญญาณเข้ารบ เปลี่ยนมาเป็นการรบแบบซุ่มเงียบ ลอบจู่โจม มีการใช้ปืนไฟยิงระยะไกล
ไม่ต้องตีกลองบอกสัญญาณอีกต่อไป กลองศึกในสนามรบจึงหมดความสำคัญลง
กลองศึกหรือกลองบูชาเมื่ออยู่ในวัด
ก็มีความใกล้ชิดกับชาวบ้านมากขึ้น ชาวบ้านก็ได้นำมาดัดแปลง ลดขนาดให้เล็กลง นำมาใช้ตีเพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลงานบุญต่างๆ
ในล้านนา เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงเป็นหลัก ใช้ทั้งศอก ทั้งเข่าตีกลอง วุ่นวายไม่เป็นระเบียบ
ชาวบ้านจึงเรียกกลองชนิดนี้ว่า “ก๋องลุงลัง” (รุงรัง แปลว่า ไม่เป็นระเบียบ
ยุ่งเหยิง)
ต่อมาพ่อครูคำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ ได้พัฒนาการตีกลองสะบัดชัย
ให้เป็นระเบียบสวยงามมากขึ้น และนำออกแสดงในงานเทศกาลต่างๆ กลองลุงลังจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า
“กลองสะบัดชัย” ตามคำที่พบในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ในปี พ.ศ.2518 วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้เชิญพ่อครูคำ
กาไวย์ มาสอนศิลปะพื้นบ้านภาคเหนือให้แก่นักเรียนนักศึกษา พ่อครูคำจึงจัดระเบียบการตีกลองสะบัดชัยขึ้นใหม่
พร้อมกับสร้างพญานาคแกะสลัก ติดยึดสองข้างของกลองสะบัดชัยอย่างสวยงาม ทำออกแสดงในงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
ต้อนรับอาคันตุกะแขกสำคัญที่มาเยือนเชียงใหม่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างๆ
มาจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
จันทร์
แก้วจิโน. กลองสะบัดชัยแบบครูคำ
กาไวย์. เอกสารประกอบการสอนวิชากลองสะบัดชัย
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
ปีการศึกษา 2546.
นคร ปญฺญาวชิโร ปรังฤทธิ์,พระ. กลองสะบัดชัย : ศิลปะการแสดงล้านนา. แม็กซ์พริ้นติ้ง
(มรดกล้านนา), 2555.
นาฏศิลปเชียงใหม่,วิทยาลัย. 20 ปี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์
เชียงใหม่การพิมพ์, 2534.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับเชียงใหม่
700 ปี. จัดพิมพ์เพื่อร่วมสมโภชเมืองเชียงใหม่
ในวาระที่มีอายุครบ 700
ปี เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2538.
https://www.thaitux.info/dict/?words
สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน
2564
Description of the
Sabadchai drum performance
By Asst.Prof.Somphop Phenchan
September 11,2021
The
term "Klong Sabatchai" appears in the local legend of Chiang Mai mean
“A drum that is used to beat when defeating an enemy.”
Klong Sabatchai was originally a battle drum.
There are many occasions where battle drums are played, namely, beating to
signal an army meeting, beating a signal to war, beating victory, beating
fanfare to excite the time, beating the time (guard drum).
During
about 100 years ago the battle drums that were originally used on the
battlefield and kept in palaces or kingdoms were moved to temples for religious
or church purposes. Changed the name of the new name "Klong Bucha" or
"Kong Pu Ja", the reason why the battle drums were moved into the
temple. It's because the old battle style has changed. Originally, swords and
spears were used in close combat and signaling to fight. Changed to a silent
battle, sneak attack, with the use of long-range light guns. No more beating
drums to signal. The battle drums on the battlefield were thus lost.
Battle
drums or worship drums when in temples it is closer to the villagers. Villagers
were converted, reduce the size used to be beaten to celebrate in various merit
festivals in Lanna for fun and festivities, mainly using both elbows and knees
to play drums. chaotic disorganized therefore, the villagers called this type
of drum "Kong Lung Lang" (Lung Lang means disorganized, messy).
Later,
Father Kru Kham Kawai, a national artist has developed a drum beater to be more
organized and beautiful and exhibited at various festivals therefore, the drum
Lung Lang was called a new name. "Klong Sabat Chai" according to the
words found in the local legend of Chiang Mai
In
1975, Chiang Mai College of Dramatic Arts has invited Father Kru Kham Kawai to
teach northern folk art to students Father Kru Kham therefore reorganized the
drum shake chai along with creating a carved serpent attached to both sides of
the flickering drum beautifully. Exhibited in art and cultural dissemination, welcoming
important guests who visit Chiang Mai as well as various tourists until now.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น