การไหว้ การดำหัว และคำสอนของพ่อ
สมภพ (ถาม) พ่อ เมื่อก่อนคนเมืองเปิ้นไหว้กั๋นก่อครับ?
พ่อน้อยเป็ง (ตอบ) บ่ไหว้ เปิ้นไหว้ก่าพระเจ้า (พระพุทธรูป) ไหว้ตุ๊ ไหว้พระ เต้าอั้น (เท่านั้น) คนเมืองเป็นตั๊ก (ทักทาย) กั๋นว่า กิ๋นข้าวแล้วกา เต้าอั้น เปิ้นบ่าไหว้ เปิ้นกลั๋วอายุสั้น เปิ้นบอกเปิ้นบ่ใช่คนมีบุญ บ่าต้องมาไหว้เปิ้น ไปไหว้พระเจ้า ไหว้ตุ๊ (พระ) ไหว้พระ (เณร) ปุ้น เปิ้นมีบุญ
พ่อน้อยเป็ง (ตอบ) บ่ไหว้ เปิ้นไหว้ก่าพระเจ้า (พระพุทธรูป) ไหว้ตุ๊ ไหว้พระ เต้าอั้น (เท่านั้น) คนเมืองเป็นตั๊ก (ทักทาย) กั๋นว่า กิ๋นข้าวแล้วกา เต้าอั้น เปิ้นบ่าไหว้ เปิ้นกลั๋วอายุสั้น เปิ้นบอกเปิ้นบ่ใช่คนมีบุญ บ่าต้องมาไหว้เปิ้น ไปไหว้พระเจ้า ไหว้ตุ๊ (พระ) ไหว้พระ (เณร) ปุ้น เปิ้นมีบุญ
ผมเชื่อพ่อ พ่อเป็นครูคนแรกของผม "การไหว้" และคำว่า "สวัสดี" เป็นวัฒนธรรมประดิษฐ์ใหม่ของชาวสยาม ตอนเป็นเด็กผมไม่เห็นพ่อไหว้ใครเลย แม้แต่ป้อแขว่น (พ่อกำนัน) การที่ "ผู้น้อย ต้องคอยก้ม ประนมกร" ต้องไหว้ ต้องเคารพ เป็นวัฒนธรรมสยามที่มาครอบงำล้านนาผ่านข้าราชการ โรงเรียน สถาบันการศึกษา เป็นวัฒนธรรมเชิงอำนาจ เหมือนกับการ "ดำหัว" ที่ในอดีตคนเมืองจะสระเกล้าดำหัว คนเฒ่าคนแก่ ป้ออุ้ยแม่อุ้ย ด้วยความเคารพอันสูงยิ่ง (เกือบเท่าพระสงฆ์) แต่ปัจจุบัน "การไหว้" และ "การดำหัว" ถูกบิดเบือนในลักษณะเชิงอำนาจการปกครอง รุ่นน้องต้องไหว้รุ่นพี่ (กูเป็นรุ่นพี่ มึงต้องไหว้กู) ผู้น้อยต้องสระเกล้าดำหัวผู้ใหญ่ (กูเป็นนาย มึงเป็นลูกน้อง) การที่นำเอาวัฒนธรรมไปรับใช้ "อำนาจ" เชิงปกครอง ทำให้เราได้เห็นประเพณี (ผมอยากใช้คำว่า "การกระทำของคนกลุ่มหนึ่ง" มากกว่า) ที่เพี้ยนๆ ในโรงเรียนหรือ สถาบันการศึกษา หลายครั้งหลายหนที่เราจะเห็นรุ่นน้อง "ไหว้" รุ่นพี่ด้วยความหวาดกลัว ไหว้ทุกครั้ง ไหว้ทุกรอบ ที่เดินผ่านกัน วันละ ๑๐ รอบ ก็ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ แต่เราก็จะเจอเหตุการณ์ที่ นร.นศ.ก้มหน้าก้มหน้าเดินเล่นมือถือจน "เกือบชน" ครู อาจารย์ หรือผู้ใหญ่ โดยไม่มีแม้แต่คำว่า "ขอโทษ" ไม่มีการไหว้ การทักทาย (ก่อไม่ได้สอนเราอ่ะ ไม่รู้จักอ่ะ) เพราะ นร.นศ.ไม่ได้มีความ "หวาดกลัว" ครูอาจารย์เหมือนกลัวรุ่นพี่ (ระวังตัวไว้นะมึง ซ่าส์กับรุ่นพี่เหรอ อย่าให้กูเจอข้างนอกก็แล้วกัน) ฯลฯ และเราจะเห็นกิจกรรม (อย่าเรียกประเพณีเลย) ที่ผู้น้อย (อายุ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ แต่เป็นผู้น้อย) ดำหัวอย่างนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ (อายุ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ แต่เป็นผู้ใหญ่) แล้วก็นั่งพับเพียบรับพรจาก "ผู้ใหญ่" (แต่อายุน้อย 555) ไปตามๆเขาด้วยความหวาดกลัว (ระวังถูกเจ้านายเพ่งเล็งนะเธอ) ฯลฯ ความผิดเพี้ยนเช่นนี้ เกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็กๆ (ที่เรียกกิจกรรม) จนกระทั่งลุกลามใหญ่โตจนเราพบเห็นทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล อบต. เทศบาล อบจ. จังหวัด จนกระทั่งเริ่มลุกลามเข้าไปในสถาบันการศึกษา ระดับชนชั้นปัญญาชนของประเทศ แล้วเริ่มขยายเป็นคนกลุ่มใหญ่ (ที่เรียกประเพณี) แล้วก็คงถูกบรรจุเป็น "ประเพณี" ที่ทรงคุณค่าของไทยเราที่ควรจะสงวนรักษาไว้ตราบนานเท่านาน
(พอละ...เปิดแอร์นอนอยู่บ้านดีกว่า ไม่ดำหัวใคร ไม่ให้ใครมาดำหัว รอวันพญาวัน จะสระเกล้าดำหัวแม่คนเดียวเท่านั้น และจะเอาเสื้อผ้าเก่าๆ ของพ่อมาสระสรง (สะ-หละ-สะ-หลง) ด้วยน้ำส้มป่อย ซุกไว้ใต้หมอน นอนคนเดียวเย็นๆ สบายๆ ....กิ๋นข้าวกั๋นหรือยังครับ?)
(พอละ...เปิดแอร์นอนอยู่บ้านดีกว่า ไม่ดำหัวใคร ไม่ให้ใครมาดำหัว รอวันพญาวัน จะสระเกล้าดำหัวแม่คนเดียวเท่านั้น และจะเอาเสื้อผ้าเก่าๆ ของพ่อมาสระสรง (สะ-หละ-สะ-หลง) ด้วยน้ำส้มป่อย ซุกไว้ใต้หมอน นอนคนเดียวเย็นๆ สบายๆ ....กิ๋นข้าวกั๋นหรือยังครับ?)
ผศ.สมภพ เพ็ญจันทร์
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
๑๓ เมษายน ๒๕๕๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น