การจัดการความรู้
เรื่อง
การทำกลองสะบัดชัย
โดย
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
สรุปองค์ความรู้
1.
การคัดเลือกชนิดและคุณภาพของไม้ที่ใช้ทำตัวหุ่นกลอง
2.
การคัดเลือกหนังหุ้มกลอง
3.
ทักษะความรู้ความสามารถขอบุคคลที่ขุดเจาะกลอง
4.
การขึ้นหน้ากลอง
5.
การวิพากษ์คุณภาพเสียงของกลอง
จัดหาไม้ให้ได้ตามขนาดทีต้องการประดิษฐ์กลอง
ตกแต่งให้เป็นรูปทรงกลม เจาะเนื้อไม้ทีจะทำกลองตรงส่วนกลางออก
เหลือส่วนทีจะทำเป็นขอบของกลองใว้
แล้วนำหนังสัตว์(ควาย)มาหุ้มไม้ทีขุดเจาะเพื่อทำกลองใว้ทั้งสองด้าน ถักร้อยตรึงหนังควายหรือทีจะเรียกว่าหน้ากลองทั้งสองด้านด้วยเชือกหรือหนังสัตว์ทีตัดให้เป็นเส้นยาว
แล้วดึงชักเชือกทีร้อยไว้จนหน้ากลองทั้งสองด้านตึงมีเสียงทีเกิดจากการตีดังจนเป็นทีพอใจ
ตกแต่งตัวกลองด้วยเสื้อกลอง ตัดเย็บด้วยผ้าสีงดงาม
ทำคานหามด้วยไม้กลึ่งกลมสองอันประกอบเข้ากับกลองทั้งสองด้าน (บน ล่าง)
ประดับตัวกลองกับคานหามด้วยไม้แกะเป็นรูปตัวพญานาค
ประกอบเข้ากับคานหามอยู่ข้างกลองทั้งสองด้านโดยให้หัวของพญานาคอยู่ด้านบนหน้าพญานาคหันออกจากตัวกลอง
เป็นความเข้าใจของข้าพเจ้าเกี่ยวกับวิธีการทำกลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัย
เป็นกลองที่ผลิตจากไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่เช่นไม้ขนุนไม้ต้นลานเป็นต้นนำมาตัดหรือกลึงให้เป็นรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
25
– 30 นิ้ว ลึกประมาณ15-20 นิ้ว
ทำการเจาะรูตรงบริเวณจุดศูนย์กลางของกลองโดยใช้สว่านเจาะนำให้ทะลุอีกด้านจากนั้นใช้ค้อนกับสิ่วเจาะให้มีความกว้างมากขึ้นจนถึงขอบกลองที่ได้กำหนดไว้ ด้านหน้าของกลองขึงด้วยหนังวัวทั้ง 2 ด้าน โดยทำการตัดหนังวัวตามแนวขอบกลองเป็นวงกลม
จากนั้นทำการถักหูหิ่งเพื่อใช้สำหรับคล้องสายเร่งเสียงซึ่งปัจจุบันทำมาจากเชือกไนลอน เมื่อคล้องหูหิ่งทั้งสองด้านแล้วค่อย ๆ
ดึงให้ตึงจากนั้นจะใช้สว่านเจาะบริเวณด้านข้างตัวกลองเพื่อใช้น๊อตยึดติดกับคานแบกทั้งด้านบนและด้านล่างพร้อมกับนาคไม้แกะสลักยึดติดกับคานทั้งสองด้านของกลอง
ไม้ที่ทำส่วนใหญ่เป็นไม้มะม่วง
อาจจะเป็นไม้เนื้อไม่แข็งมากนัก หาง่ายในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันต้องไปหาไกลขึ้น
จากอีสาน ใต้ เพราะในภาคเหนือมีลดน้อยลง
การจัดหามักจะสั่งไปทางผู้รับจ้างส่งไม้เหล่านี้ ซึ่งติดต่อกันมายาวนาน
จะมีไม้มาลงเป็นครั้งๆ ไป แล้วแต่จะสั่ง ส่วนพิธีกรรมและความเชื่อในการตัดไม้นั้น
ทางชมรมฯ ไม่มีแล้ว เพราะไม่ได้ตัดไม้เอง ส่วนผู้ตัดไม้จะมีหรือไม่
ไม่ทราบได้ ส่วนความเชื่ออื่นๆ
ก็จะมีพิธีไหว้ครูช่างทำกลองทุกปี ในวันขึ้นปีใหม่เมือง เดือนเมษายน
ส่วนใหญ่จะใช้วันที่ 1
เมษายน โดยผู้ทำพิธีเป็นป้อหนาน (ผู้บวชพระแล้ว)
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่บ้าน เครื่องพิธีก็เหมือนไหว้ครูทั่วไป เช่น หมาก พลู
บุหรี่ กล่วย อ้อย เหล้าขาว น้ำขมิ้น ส้มป่อย ฯลฯ ตามธรรมเนียมของชาวล้านนา
ระยะเวลาที่ทำหุ่นกลอง เดี๋ยวนี้ถือฤกษ์สะดวก
เพราะใช้เครื่องจักรและส่วนใหญ่เป็นกลองเพื่อการแสดง ไม่ใช่กลองศักดิ์สิทธิ์
การหาไม้และเลือกไม้
สำหรับเจาะเป็นหุ่นกลองจะไปหาไม้ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ไม้มะขาม มะม่วง ไม้ขนุน
ไม้ปันแข ไม้งุ้น ปัจจุบันนิยมใช้ไม้ฉำฉา เพราะเป็นไม้หาได้ง่าย
เมื่อเจาะนำมาทำเป็นเสียงกลองแล้วจะมีเสียงดังก้องกังวาน
ไม้ที่จะใช้ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ ๒๐ นิ้วขึ้นไป
นำมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ฟุตครึ่ง แล้วนำมาเจาะตรงกลาง
การลงมือเจาะต้องหาฤกษ์หาวันในการเจาะ หรือที่เรียกว่า ตี๋กุ้มเจ่น ตี๋กุ้มจ๊าด
โดยดูจากปฏิทินล้านนา ในอดีตใช้เวลาในการเจาะนานเกือบหนึ่งสัปดาห์
การเจาะจะค่อยๆเจาะตรงกลางก่อน
บางทีถ้าไม้เนื้อแข็งมากก็จะเจาะแบบจุดไปเผาตรงกลางทิ้งไว้หนึ่งคืน
ก็จะประหยัดเวลาไปเยอะ
แต่ปัจจุบันมีเลื่อยที่สามารถเจาะได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นมาก
การทำเหงือกกลองจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า อ้งมืออีวอก ในการช่วยเจาะ
เมื่อเจาะได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วก็จะขัดเกลาให้เรียบและสวยงาม
เตรียมสำหรับขึ้นหน้ากลองต่อไป
หนังที่นิยมนำมาหุ้มกลองสะบัดชัยคือ
หนังวัว เพราะมีความนุ่มกว่าหนังชนิดอื่นๆ สำหรับหนังควายไม่นิยม เพราะมีหนังหนา
ไม่อ่อนนุ่ม ตีแล้วไม่มีความไพเราะ การซื้อหนัง
ซื้อมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ถนนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นแหล่งของแขกอิสลาม
ที่ทำอาชีพฆ่าวัว การซื้อจะไปเลือกด้วยตนเอง เมื่อซื้อมาแล้วจะนำมาขึงให้ตึง
ตากแดดไว้จนแห้ง เมื่อต้องการจะนำหนังวัวมาหุ้มกลอง ก็จะนำหนังมาแช่น้ำเป็นเวลา 1 คืน จนหนังอ่อนนุ่ม โดยจะมีกลิ่นเหม็นแต่พอทนได้
จากนั้นนำหนังมาหุ้มหุ่นกลองซึ่งขุดไว้แล้ว โดยใช้เชือกไนล่อน มาสานร้อยทำ “คร่าวหูหิ่ง”
บางครั้งก็ใช้หนังควายเพราะเหนียวทนทาน
การสานเชือกร้อยคร่าวหูหิ่งจะมีความยากและสลับซับซ้อนพอสมควร
ต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จากนั้นก็นำหนังมาหุ้มกลอง
โดยใช้เชือกไนล่อนร้อยขึงสลับไปมาทั้งสองด้าน จนหนังขึงตึง ตีได้ความไพเราะ
หนังหน้ากลองสะบัดชัย จะใช้หนังวัว
ซึ่งด้านในต้องขูดเศษเนื้อและเอ็นออกให้หมดก่อนหุ้มกลอง
หนังวัวที่ใช้ถ้าตายฟ้าผ่ายิ่งดี จากนั้นจะนำหนังที่ได้ไปตากให้แห้ง
เมื่อหนังแห้งดีแล้วจึงตัดหนังเป็นวงกลม โดยใช้ ผังเวียง วัดขนาดหน้ากลอง
ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าตัวกลอง ที่จะทำเพื่อเข้าห่วงเจาะรูและร้อยหนัง
ปัจจุบันหนังวัวที่ใช้ทำกลองเป็นหนังฟอกซึ่ง ซื้อมาจาก อ.เมือง ลำปาง หรือตำบลช้างคลาน
เชียงใหม่ ในราคากิโลกรัมละ ๓๕ บาท
ก่อนที่จะเจาะรูจะต้องนำหนังไปแช่น้ำก่อน ๑ คืน
และต้องแช่ในอ่างหรือบ่อที่ทำขึ้นมา จะไม่นำไปแช่ในแม่น้ำหรือลำเหมือง
เพราะว่าน้ำเหล่านั้นไหลผ่านจากที่ต่างๆมา ไม่เหมาะที่จะนำหนังหน้ากลองไปแช่ จากนั้นก็จะนำหนังกลองมาเจาะรูสำหรับร้อยหูหิ่ง
ซึ่งจะต้องเจาะ ๒ รูให้ตรงกันไปเป็นคู่
การเจาะรูจะต้องเจาะให้ได้จำนวนที่เป็นเลขมงคล โดยมีการนับและขยับไปมาจนได้เลขมงคล
โดยการนับดังนี้ ตีลงโต้ง ตีลงนา
ตีหาเปื้อน ตีหาข่วงมิตรสหาย
ตีบ่าวายกุ๊มเฒ่า ตีกิ๋นเหล้า
คานหามบนและล่างของกลองสะบัดชัย
นิยมใช้ไม้กะท้อน เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งและหาได้ง่าย
การยึดไม้คานบนกับคานล่างไว้กับตัวกลอง จะใช้น็อตยึดให้แข็งแรง
จากนั้นใช้ไม้ที่แกะสลักเป็นพญานาค ประกบยึดด้านข้าง ไม่ให้ตัวกลองขยับไปมาได้
การแกะสลักเป็นรูปพญานาคใช้ช่างพื้นบ้าน
เหตุที่วาดเป็นรูปพญานาคเพราะเห็นตัวอย่างมาจากบันได้นาคที่วัด
การทำไม้สำหรับตีกลอง
นิยมใช้ไม้มะขามมาเหลาหรือกลึงให้เกลี้ยง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร มีความยาวประมาณหนึ่งศอก-ก้อย
คือวัดความยาวตั้งแต่ศอกถึงนิ้วก้อยหรือประมาณ
๑ ฟุต มีติ่งหัวท้าย
เจาะรูทะลุหากันหัว ๒ รู ท้ายสองรู
สำหรับใส่ฟางซึ่งจะทำเป็นฟู่ตกแต่งให้สวยงาม
ส่วนตัวตีกับตัวท้าย เริ่มต้นจากการนำหนังวัวมาแช่น้ำ ๑ คืน
นำมาตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๑ นิ้วครึ่ง ยาว ๘ นิ้ว
นำมาขดเป็นวงกลมที่มีเส้นรอบวง ๔ นิ้ว
สำหรับทำเป็นตัวตี
ส่วนตัวท้ายก็มีขนาดเล็กลง โดยมีเส้นรอบวงประมาณ ๓ นิ้ว
การทำตัวตีและตัวท้าย เริ่มจากนำยางยืดสีขาวยาวประมาณ ๒ ฟุต มาพันรอบวงกลมจากนั้นนำผ้ายีนส์
ซึ่งตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งกว้างประมาณ ๑นิ้วครึ่ง- ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๑ เมตร
จำนวน ๑ เส้น มาพันสอดแนวขวางจนหมดผ้า จากนั้นใช้ผ้าสีแดงจำนวน ๒
เส้นขนาดเดียวกันมาพันต่อจนหมด ทำลักษณะเดียวกันทั้งตัวตีและตัวท้าย
แล้วก็นำมาประกอบกับไม้ตี
การทำกลองสะบัดชัย
เป็นศิลปหัตถกรรมที่อยู่คู่กับชาวล้านนาไทยมาอย่างยาวนาน
ความสำคัญของการทำกลองสะบัดชัยคือ การแสดงให้เห็นว่าชุมชนล้านนาของเรา
เป็นชุมชนที่เจริญแล้ว มีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน
คนล้านนาเป็นคนที่ใฝ่ใจในพระพุทธศาสนา ที่สอนให้คนประพฤติดี
การทำกลองเพื่อบูชาพระพุทธศาสนาและใช้ในกิจการของวัด เป็นการทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เป็นอาชีพสุจริตที่เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
วัฒนธรรมการทำกลองสะบัดชัยจึงเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวล้านนา
ที่ควรรักษาไว้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำกลองสะบัดชัย มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมล้านนา
1.ในทั้งแง่ของอัตลักษณ์ท้องถิ่น
2. มีทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ
3. มีทั้งในแง่ของความเป็นปึกแผ่นของสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น